วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

เรียนธรรมจากธรรมชาติ Sea scenery




ธรรมชาติ ให้ชีวิต



ธรรมชาติ ให้ความรื่นรมย์


ธรรมชาติ ให้การเกื้อกูล



นอกจากนี้ หากเห็นธรรมชาติ
โดยความเป็นสิ่งที่ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลง



และเห็น่โดยความเป็นสิ่งที่ไม่อาจดำรงอยู่โดยเอกเทศ



เพราะต้องพึ่งพิงอิงอาศัยสิ่งอื่่นๆ เพื่อการดำรงอยู่ของตน



แล้วน้อมเข้ามาพิจารณาชีวิตของตน ที่ประกอบด้วย รูปนาม กายใจ
ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง


ธรรมชาติภายนอก ก็สามารถให้มุมมองทางสติปัญญา



ที่จะช่วยให้เห็นความจริงของชีวิต



ความจริงที่จะทำให้ปล่อยวางความยึดมั่น
อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง

ทางเดินภายในพื้นที่ (๙) Corridors within the area



ทางเดินขึ้นสู่เนินที่ราบชั้นกลาง และชั้นบน

เนื่องจากพื้นที่ภายในทีปภาวันธรรมสถาน ตั้งอยู่บนพื้นที่ลาดเชิงเขา สิ่งปลูกสร้าง เช่น อาคารทีพัก หรืออาคารที่ประกอบกิจกรรมอื่นๆ จึงตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างระดับกัน ตามสภาพของพื้นที่แต่ละช่วง ว่าจะเอื้อให้สร้างอาคารสถานที่ เพื่อประโยชน์ใช้สอยแบบใด
การเดินจากอีกที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง จึงเป็นการเดินจากที่ต่ำไปยังที่สูง หรือจากที่สูงไปยังที่ต่ำ โดยมีทางเดิน บางช่วง ที่ปูด้วยอิฐบล๊อกรูปตัวหนอน และบางช่วง ที่เป็นบันได เป็นทางเดินเชื่อมต่อ ไปมาระหว่างอาคารในพื้นที่ต่างๆ ดังบางส่วน ที่ปรากฏในภาพ




มีความลาดเอียง และคดเคี้ยวไปตามสภาพพื้นที่



บางช่วงเป็นทางเรียบ บางช่วงเป็นบันได



ช่วงที่มีความชัน จะมีราวจับเป็นตัวช่วย เพื่อความสะดวกและปลอดภัย




บันไดทางเดินช่วงต่อ จากที่ราบชั้นกลาง สู่ศาลาปฏิบัติธรรม
ซึ่งตั้้งอยู่ชั้นบนสุด




วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ภูมิทัศน์บริเวณทางขึ้นสู่ลานธรรมขีรธารา (๘) On the upper area



ทางเดินออกด้านหลัง ทีปภาวันธรรมสถาน
ขึ้นสู่เขตสวนทุเรียน และลานธรรมขีรธารา



เดินต่อมาสักพัก เมื่อหันหน้ากลับอีกครั้งจะเห็นศาลาปฏิบัติธรรม



พื้นที่ก่อนเข้าสู่เขตเนินเขาที่เป็นสวนทุเรียน



บันไดทางเดินขึ้นสู่เขตสวนทุเรียน และลานธรรมขีรธารา
อาจจะเล็กและแคบ ดังนั้น หากเดินไม่ชำนาญต้องอาศัยไม้เท้าเค้ายันช่วยพยุง




กุฏิปลีกวิเวกสำหรับพระบนภูเขา หลังที่ ๑






ด้านหน้าของกุฏิ




มุมมองจากภายในกุฏิหันหน้าสู่ทะเล




ผาหินสูง อยู่ด้านซ้ายมือ ขณะเดินขึ้นสู่ลานธรรมขีรธารา




กุฏิปลีกวิเวกหลังที่สอง เน้นความเรียบง่าย สันโดษ
สำหรับพระผู้ต้องการปลีกวิเวกภาวนา




ไม้ใหญ่ผลิใบเขียวอ่อน บ่งบอกการเริ่มต้นวงจรชีวิตใหม่อันสดใส
ชีวิตแม้จะผิดหวัง ผิดพลาด ขอจงปล่อยวางให้ผันผ่าน เหมือนต้นไม้ที่สลัดใบเก่าให้ร่วงหล่น ขอเพียงเปิดใจรับธรรมะเข้าหล่อเลี้ยง ก็สามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ และสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่าได้เสมอ





กาะสมุย ดูเหมือนมากด้วยมนต์เสน่ห์ที่จับใจนักท่องเที่ยว
แต่นั่นเป็นเพียงเสน่ห์ทางรูปธรรม ที่มีวันจืดจาง และร่วงโรย
มาวันนี้ ทีปภาวันธรรมสถาน กำลังสร้างเสริมคุณค่า ในมิติทางจิตใจแก่เกาะสมุย
เป็นคุณค่าที่ยั่งยืน และไร้ผลกระทบข้างเคียง



มุมขวาของภาพ คือกุฏิปลีกวิเวกของพระหลังที่ ๒ อยู่ในเขตสวนทุเรียน โดยมีทางน้ำ
ธรรมชาติที่ไหลลงจากเขาอยู่ข้างๆ ท่ามกลางโอบกอดของป่าธรรมชาติที่เขียวชอุ่ม บริเวณเทือกเขาด้านข้าง และด้านหลัง พร้อมทั้งผืนทะเลกว้างที่อยู่เบื้องหน้า





จากลานธรรมขีรธารา ที่ระดับความสูง ๕๕๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
จะเห็นทีปภาวันธรรมสถาน ตั้งอยู่ระหว่างเนินเขา
ท่ามกลางความเขียวขจีของหมู่ไม้ และกลุ่มต้นมะพร้าว เอกลักษณ์ของเกาะสมุย


วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ศาลาปฏิบัติธรรม (๗) Meditation Hall



ศาลาปฏิบัติธรรมด้านหน้า

ศาลาปฏิบัติธรรม เป็นอาคารสำหรับประกอบกิจกรรมหลัก
ในการปฏิบัติธรรม เช่น การนั่งสมาธิ เดินจงกรม สวดมนต์ทำวัตรเช้า เย็น
และรับฟังการบรรยายธรรมะ ตามตารางเวลาที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละวัน




ศาลาปฏิบัติธรรม มองจากเนินที่ราบช่วงกลาง



บริเวณภายในศาลาปฏิบัติธรรม เป็นอาคารโล่งกว้าง
เพื่อเปิดรับบรรยากาศธรรมชาติรอบด้าน



ที่นั่งสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม



ศาลาปฏิบัติธรรมทีปภาวันธรรมสถาน ซึ่่งผู้ปฏิบัติ
ทั้งชาวไทย และต่างประเทศ ได้เข้ามาฝึกอบรมกันไปแล้วเป็นจำนวนมาก

ทีปภาวันธรรมสถาน พร้อมต้อนรับสาธุชนผู้ต้องการฝึกฝนอบรบตน ด้วยการภาวนา


รูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และแผ่นป้ายแสดงปณิธาน ๓ ประการ
ของหลวงพ่อพุทธทาส ภิกขุ


ภาพปริศนาธรรม ติดอยู่ผนังด้านหลัง
เป็นภาพสื่อความหมาย ถึงการรู้จักจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของชีวิต
แล้วลงมือเดินทางไปสู่จุดมุ่งหมายนั้น เมื่อบรรลุจุดมุ่งหมายอันเป็นประโยชน์ตนแล้ว
ก็บำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นต่อไป


การศึกษาและปฏิบัติธรรม จะช่วยให้เรารู้จักจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของชีวิต
รู้ว่าชีวิตเกิดมาทำไม
อะไรคือสิ่งที่ชีวิตควรได้ และควรไปให้ถึง เพื่อให้ชีวิตนี้ที่เกิดมามีความคุ้มค่า ไม่สูญค่าเปล่า


โต๊ะหมู่บูชา และอาสนะสำหรับนั่งบรรยายธรรม
ภายในศาลาปฏิับัติธรรม



ทีปภาวัน มีความหมายว่า การภาวนา หรือการฝึกฝนอบรม เพื่อให้ชีวิตมีที่พึ่ง
เพราะชีวิตแต่ละชีวิต มีความทุกข์ จึงจำเป็นต้อง
ฝึกฝนอบรมตน เพื่อให้มีที่พึ่ง ด้วยการภาวนา
ให้จิตใจมีความมั่นคง ไม่เคว้งคว้าง มีสติปัญญาพร้อมรับมือกับความทุกข์



ภาพทิวทัศน์ มุมมองจากศาลาปฏิบัติธรรม




ทิวทัศน์จากอีกมุมมองหนึ่ง บนศาลาปฏิบัติธรรม


ภูมิทัศน์ และอาคารสถานที่ (๖) Location and buildings


กุฏิสงฆ์อยู่ด้านขวามือทางเดินขึ้นสู่เนินชั้นบน
ติดกับเรือนพักอาคันตุกะ



ทางขึ้นกุฏิสงฆ์


ศาลาพักอิริยาบถ มุมไกล



ศาลาพักอิริยาบถ มุมมองจากศาลาปฏิบัติธรรม



ศาลาพักอิริยาบถ


ภายในศาลาพักอิริยาบถ ด้านล่างเป็นถังเก็บกักน้ำ ที่ไหลจากภูเขา



ศาลาปฏิบัิติธรรม ระยะใกล้



ศาลาปฏิบัติธรรมรวม มุมมองจากเนินที่ราบชั้นกลาง



ทางเข้าศาลาปฏิบัติธรรม



กุฏิสงฆ์



ทางออกด้านหลังสำนัก เป็นทางเดินขึ้นไปสู่สวนทุเรียน
และลานธรรมขีรธารา ระยะทางจากนี้ไป ๕๐๐ เมตร